Thursday, May 27, 2010

คนที่ไม่รักในหลวงคือคนที่ไม่รู้จักในหลวง

ผมไม่ได้เขียนบทความข้างล่างนี้ แต่ชื่นชมที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอดความรู้สึกที่ตรงกับผม (ครับ คนเราก็ยังงี้แหละ ใครเห็นด้วยกับเราก็ว่าเขาดีไปหมด)

ถ้าคุณติดตามผลงานของผมนอกเหนือจากคอลัมน์ในเดลินิวส์ ก็อาจทราบว่าผมเคยแปลหนังสือเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งการได้ทำงานชิ้นนั้นทำให้ผมตระหนักว่าประเทศไทยโชคดีเหลือเกินที่มีพระมหากษัตริย์เช่นพระองค์ท่าน

และผมก็เป็นห่วงพระองค์ท่านมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายๆ ปีที่่ผ่านมา ตั้งแต่มีคนพยายามดึงเอาท่านไปแอบอ้างในการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ทำให้ต่างชาติ และแม้แต่คนไทย ที่รู้ไม่ลึกพากันหลงเชื่อไปด้วยว่าพระองค์ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องจริงๆ

กลุ่มคนที่กระทำความผิดโดยคิดว่าไม่เป็นไรเพราะทำไปด้วยความจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์คงไม่ทราบว่าตนได้สร้างความเสียหายแก่พระองค์ท่านและแก่สถาบันมากแค่ไหน

ความจริงแล้ววิธีการแสดงความรักต่อพระองค์ท่านที่ดีที่สุดคือการปฏิบัติตนตามคำสอนของพระองค์ท่าน

ในหลวงทรงสอนเราเสมอให้ใช้เหตุผล ใช้สติปัญญา ทรงสอนเราให้สามัคคีกัน ทำหน้าที่ตนให้ดี

แต่คนที่ปากบอกว่ารักท่านนั้นหลายคนเหลือเกินไม่เคยแม้แต่พยายามทำตามที่ท่านทรงพร่ำสอน

บทความของคุณวุฒินันท์ ชัยศรี ที่ผมถือวิสาสะนำมาลงในบล็อกตัวเองนี้ เป็นตัวอย่างของความรักในหลวงที่ผมเห็นว่าคนไทยพึงมี นั่นคือไม่ใช่ความรักแบบหลับหูหลับตาบ้าคลั่ง แต่ความรักที่มาจากจิตใจและจิตสำนึกที่มีวุฒิภาวะ ซึ่งผมคิดว่าในหลวงคงทรงมีพระราชประสงค์ให้พสกนิกรของพระองค์ท่านเป็นเช่นนั้น

อารัมภบทมาพอสมควรแล้ว เชิญอ่านบทความได้ครับ



เด็กรุ่นใหม่ไม่รักในหลวง?
ถ้าอยากรู้ว่าทำไมเด็กรุ่นใหม่ ไม่รักในหลวง โปรดอ่านให้จบ
แล้วจะทำให้คุณเข้าใจ และรักในหลวงมากยิ่งขึ้น...


๑. ขอแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง กรณีคณะอักษรศาสตร์การปฏิเสธการ เข้าศึกษาต่อของ "นางสาวณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ"

ตอนแรกว่าจะเขียนแถลงการณ์ประ ณามสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ลองคิดอีกทีคงต้องพูดด้วยศัพท์วิชาการเยอะ ๆ ยืด ๆ คงไม่เข้าท่าเท่าไหร่ เอาเป็นว่าขอแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดขึ้น

สืบเนื่องจากที่นางสาวณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ หรือใช้ชื่อในอินเตอร์เน็ตว่า "ก้านธูป" ได้เขียนข้อความจาบจ้วงและแสดงพฤติกรรมหมิ่นสถาบันสูงสุดของชาติในเว็บ Facebook อย่างรุนแรงและต่อเนื่อง จนเป็นที่โจษจันกันในอินเตอร์เน็ต เมื่อเธอสอบติดคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงมีผู้หวังดีแจ้งเรื่องนี้ไป ให้ทางมหาวิทยาลัย ตลอดจนรวบรวมหลักฐานส่งไปประกอบการพิจารณา ปรากฏว่าเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ทางคณะอักษรได้มีการประกาศออกมาว่า "ขณะนี้คณะกรรมการหลักสูตรเอเชียศึกษามีมติไม่รับ นางสาวณัฐกานต์ สกุลดาราชาติ เข้าศึกษาต่อ"

ผมคิดว่านี่คือความโหดร้ายอย่าง หนึ่ง ที่สถาบันการศึกษาของรัฐปฏิเส ธโอกาสทางการศึกษาของคน ๆ หนึ่ง เพียงเพราะเขามีความคิดต่างทางการเมือง นี่คือการใช้ "บทลงโทษทางสังคม" (Social Sanction) อันเป็นอำนาจนอกระบบมาใช้ทำลายอำนาจในระบบ ซึ่งแน่นอนว่าในระยะยาวจะส่งผล กระทบต่อเสถียรภาพของอำนาจใน ระบบ และเสถียรภาพของสิ่งที่ถูกใช้เป็น ข้ออ้างของบทลงโทษทางสังคม นี้ นั่นก็คือภาวะการดำรงอยู่ของสถาบัน พระมหากษัตริย์

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ต่อไปจะเกิดการทำลายสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่คิดต่าง ด้วยข้อหา "ไม่รักในหลวง" และต่อไปสิทธิขั้นพื้นฐานเองจะ ไม่สามารถดำรงตัวเองอยู่ได้ จนถึงกับล่มสลายเพราะเกิดความ ไม่เสมอภาคขึ้น และภาวะการดำรงอยู่ของสถาบันจะถูกนำมาเป็น "แพะรับบาป" ในการล่มสลายของระบบสิทธิขั้นพื้น ฐาน ผลก็คือ รอยร้าวระหว่างคนที่ "รักในหลวง" กับ "ไม่รักในหลวง" จะแยกออกห่างจากกันยิ่งขึ้น และสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้การเคลื่อน ไหวเพื่อ "โค่นล้มสถาบัน" มีแนวร่วมมากขึ้น รุนแรงยิ่งขึ้น และที่สำคัญ มีความชอบธรรมมากยิ่งขึ้น

มีคำถามตามมาว่า ถ้าเช่นนั้นเราควรรับน้องคนนี้เข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐเพื่อให้เป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันในวันข้างหน้าหรือ

ขออนุญาตตอบว่า สิทธิขั้นพื้นฐานเป็นคนละเรื่องกับเรื่องความมั่นคง ในกรณีนี้ สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กไม่ควร ถูกปฏิเสธจากรัฐที่เธออาศัย อยู่ เช่นว่า ถ้าเธอป่วย ในฐานะของพลเมืองรัฐ เธอมีสิทธิเท่าเทียมกับคนอื่นที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ โดยจะไม่ถูก Social Sanction จากโรงพยาบาลของรัฐ เช่นเดียวกับการได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานทางการศึกษา ในส่วนของพฤติกรรมที่บ่อนทำลาย ความมั่นคงของรัฐก็ควรใช้อำนา จในระบบที่มีอยู่มาจัดการ นั่นคือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นเพื่อ รักษาความมั่นคงของสถาบันสูง สุด

ส่วน Social Sanction นั้นต้องแยกออกจากการใช้ในระบบ โดยสามารถใช้ได้นอกระบบเท่านั้น จะเป็นการถูกแบนในคณะ หรือเพื่อนไม่คบ หรือประณามไปทั่วคณะให้รู้จักกันทั่วไป จนแม่ค้าไม่ขายข้าวให้ หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ไม่ควรนำมายุ่งเกี่ยวกับอำนาจในระบบ

ต้องอธิบายต่อว่าเรื่องนี้เป็น คนละกรณีกับที่พนักงานเอกชน ของบริษัท DHL ถูกไล่ออกเพราะ "ไม่รักในหลวง" เพราะนั่นเป็นกรณีพิพาทระหว่างบุคคลต่อบุคคล คือนิติบุคคล (บริษัท) กับบุคคล คือพนักงานคนนั้น ที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง และนิติบุคคลไม่ประสงค์จ้างเธอต่อไป อาจจะด้วยกลัวเสียภาพพจน์บริษัท หรือไม่พอใจอย่างไรก็แล้วแต่ แต่ก็คือการใช้อำนาจในระบบของบุคคลต่อบุคคล

แต่ในกรณีนี้เป็นข้อพิพาทระหว่าง รัฐกับบุคคล คือรัฐต้องให้สิทธิการศึกษาแก่พลเมือง และมหาวิทยาลัยศิลปากรก็เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ สิทธิขั้นพื้นฐานนี้จึงจะถูกปฏิเสธ เพราะความคิดต่างทางการ เมืองไม่ได้ เพราะจะส่งผลต่อสภาวะของระบบทั้งหมดดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

๒. ว่าด้วย "เด็กรุ่นใหม่ไม่รักในหลวง"

จบเรื่องของการประณามการปฏิเส ธการเข้าศึกษาต่อไว้ข้างบน มาพูดถึงข้อสังเกตของผมอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันคือ "เด็กรุ่นใหม่ไม่รักในหลวง" ซึ่งดูเหมือนกำลังระบาดมากขึ้นเรื่อย ๆ

โดยส่วนตัว ผมไม่รังเกียจคนที่จะบอกว่า "ไม่รักในหลวง" หากคน ๆ นั้นมีเหตุผล มีข้อเท็จจริงที่ชี้แจงได้มากพอ

อย่าว่าอย่างนั้นอย่างนี้เลย ผมไม่อาย (แต่กลัวกฎหมายหมิ่นฯ 55) ที่จะสารภาพว่า ศีรษะผมก็เคยเอียงด๊อกแด๊กไปทาง ซ้าย ๆ มาก่อน

บ้าถึงขนาดไปสมัครเรียนรัฐศาสตร์ ที่รามฯ แล้วเลือกลงหลายวิชาที่ "ซ้าย" ไม่เชื่อก็ลองมาดูที่ทรานสคริปต์ ได้ (ช่วงปีแรก ๆ อะนะ ปีหลังลงแบบว่าพอให้จบ เบื่อแระ) ตลอดจนอ่านหนังสือซ้าย ๆ ทางรัฐศาสตร์ ฟ้าเดียวกงเดียวกัน ฉบับต้องห้ามและไม่ต้องห้าม เว็บประชาไท ไปจนหนังสือต้องห้ามอย่าง "กงจักรปีศาจ" "The King never smile" ฯลฯ

แต่ผมก็คิดว่า จะดีหรือหากเราจะเกลียดใครคนหนึ่ง โดยที่ไม่เคยรู้จักเขาจริง ๆ ผมก็เลยไปศึกษา "ตัวตน" ของพระองค์ผ่านพระราชกรณียกิจ พระราชดำรัสต่าง ๆ มาชั่ง ตวง วัด กับสิ่งที่ผมเคยรู้มา

จนวันนี้ผมอายุ ๒๓ ปี (ต้องระบุเลขอายุเพราะว่า วันข้างหน้าเมื่อผมอายุ ๓๐ ๔๐ ๕๐ ความคิดอาจจะเปลี่ยนแปลงไปก็เป็น ได้) การศึกษาทั้งหมดจนถึง ณ ขณะนี้ประมวลมาได้ว่า ผมภูมิใจที่เกิดมาในรัชสมัยของ พระองค์ ผู้ที่นับได้ว่าเป็น "มหาบุรุษ" คนหนึ่งของโลก

ขนาดนั้นเลยเหรอ??

เอ้า ผมลองยกตัวอย่างง่าย ๆ สักเรื่องก็ได้ มีบทความสัมภาษณ์ที่ไปถามชาวบ้านสหกรณ์โคนมหนองโพ จังหวัดราชบุรี อันเป็นโครงการในพระบรมราชูปถัมภ์ มีคำตอบหนึ่งที่แสดงถึงพระปรี ชาญาณของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ตอนชาวบ้านกราบทูลว่า อยากจะสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่มเพื่อมาทำงานแทนคน จะได้ผลิตนมได้เร็วขึ้น ได้กำไรมากขึ้น พระองค์ทรงตอบว่า อย่าเลย เธอเอาเครื่องจักรมาทำงานแทนคน ได้ผลผลิตเร็วขึ้น ได้กำไรมากขึ้นก็จริง แต่คนจะไม่มีงานทำ

นี่มันความคิดของมหาบุรุษชัด ๆ

หลายคนอาจจะยังงงอยู่ว่าเป็นม หาบุรุษอย่างไร ต้องมองลึก ๆ แล้วจะเห็นพระปรีชาญาณของพระองค์ครับ คำว่า "คนจะไม่มีงานทำ" ของพระองค์ไม่ใช่แค่ คนตกงาน แต่หมายถึง คนจะไม่มีส่วนร่วมในสหกรณ์แห่งนี้ครับ

อย่าลืมว่า สหกรณ์ คือ สห+กรณ หมายถึงการประกอบกิจร่วมกัน ดังนั้นการเอาเครื่องจักรมาจึงเป็นการทำลายหลักการพื้นฐานของสหกรณ์ เพราะกิจที่ "คน" จะทำร่วมกันถูกเครื่องจักรแย่ง ไปทำเสียแล้ว ถามต่อว่า งั้นก็เอาคนมาคุมเครื่องจักรสิ จะต้องคุมสักกี่คนกัน สุดท้ายก็จะมีคนคุมอยู่ไม่กี่คน มีคนจัดการอยู่ไม่กี่คน จากนั้นการขยายตัวของสหกรณ์จะไปไปในทางสั่งซื้อเครื่องจักรการผลิตเพิ่ม ไม่ใช่ขยายออกไปโดยการเพิ่มคน เข้ามา สุดท้ายสหกรณ์นี้ก็จะล่มสลายล ง กลายสภาพไปเป็นบริษัทโคนมหนองโพ

หลายคนอาจจะบอก ก็ดีแล้วนี่ เป็นบริษัทกำไรเยอะดี ค่อยจ้างคนมาเยอะ ๆ แล้วคนก็จะมีงานทำเยอะ ๆ กันเอง ต้องมองว่าการล่มสลายของสหกรณ์ไม่ใช่แค่เรื่องทางกายภาพเท่านั้นนะครับ แต่ถือเป็นการล่มสลายทางสังคม ด้วย เพราะสหกรณ์เกิดขึ้นมาจากการร่วม กันของคนหลาย ๆ คน มี "ข้อผูกพันทางใจ" เป็นสัญญาช่วยเหลือกัน ไม่ใช่ "สัญญาจ้าง" แบบบริษัท การมีข้อผูกพันทางใจทำให้คนเต็มใจเข้ามาช่วยเหลือกันด้วยความโอบอ้อมอารี อันเป็นวิถีดั้งเดิมของสังคมไทย แต่ถ้าเมื่อใดสหกรณ์ล่มสลายลง กลายเป็นบริษัท เมื่อนั้นระบบสัญญาจ้างที่ให้ความสำคัญกับ "กฎระเบียบ" และ "เงินตรา" ก็จะเข้ามาแทนที่ ซึ่งสองอย่างนี้จะทำลายความโอบอ้อมอารี ความไว้เนื้อเชื่อใจลง และเมื่อมี "เงิน" เข้ามามาก ๆ จากการได้กำไรมาก คนจะเห็นแก่เงินและประโยชน์ส่วน ตัวมากขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดระบบสายบังคับบัญชาแบบ "เจ้านาย-ลูกน้อง" ไม่ใช่ "พี่-น้อง" เหมือนเดิม และทำลายระบบความสัมพันธ์ของสังคมเดิมลงจนหมด เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วใน สังคมเมือง สุดท้ายก็จะมีคนไม่กี่ตระกูลที่รวย คือบรรดาเจ้าของบริษัท ส่วนคนอื่นก็จะถูกลดชั้นมาเป็นพ นักงาน และถูกกดขี่ เกิดความแตกแยกทางชนชั้นมากขึ้น

การดำรงอยู่ของสหกรณ์จึงเป็นสิ่ง สำคัญ เพราะเป็นการดำรงอยู่ของระบบความ สัมพันธ์ของสังคมเดิม (ที่ควรจะดำรงอยู่ต่อไป) การขยายการผลิตของสหกรณ์จึงไม่น่าจะใช้วิธีการเพิ่มเครื่องจักร เพราะจะเป็นตัวเร่งให้สหกรณ์ล่มสลายเร็วขึ้น แต่ควรเป็นไปด้วยการขยายจำนวน คน แม้ว่าที่สุดแล้วอาจจะได้รายได้ น้อยกว่าใช้เครื่องจักร แต่ลักษณะทางกายภาพและลักษณะทาง สังคมของสหกรณ์จะยังดำรงอ ยู่ คือเป็น "พี่-น้อง" ที่มาช่วยกันด้วย "น้ำใจ" และเมื่อสหกรณ์ยิ่งเติบโตขึ้น ขยายวงกว้างกันมากขึ้น คนที่มาร่วมกันก็จะยิ่งรักกันมากขึ้นทั้งจำนวนและความผูกพัน ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่ากำไรที่เป็นเงินเสียอีก

นี่แหละคือพระปรีชาญาณของพระองค์ ที่ทรงมีสายพระเนตรที่กว้าง ขวาง เอ้อ ใช้ราชาศัพท์มาก คนอ่านอาจจะเหนื่อย เอาเป็นว่าพระองค์"ฉลาด"และ"มองการณ์ไกล"เอามากๆ แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเข้าใจ สภาพพื้นฐานของสังคมไทยเป็น อย่างดี ตลอดจนเห็นตัวอย่างของสังคมเมือง ที่ถูก "ระบบบริษัท" และ "ทุนนิยม" มาทำลายลักษณะความโอบอ้อมอารี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทยไปสิ้น จึงทำให้เห็นต่อเนื่องไปอีกว่า พระองค์ไม่ได้เสด็จต่างจังหวัดแบบโก้ ๆ เก๋ ๆ หรือที่นักวิชาการซ้ายหลายคนพ ยายามชี้ว่าพระองค์ "สร้างภาพ" แต่พระองค์ทรงเสด็จแบบจริง ๆ จัง ๆ และได้เรียนรู้ เก็บข้อมูลลักษณะสังคม ยิ่งกว่า NGO หลายคน จึงจะเห็นว่า "ระบบสหกรณ์" และ "เศรษฐกิจพอเพียง" ไม่ได้เกิดขึ้นมาเป็นนโยบายโก้ ๆ แต่คือความพยายามในการรักษา "ลักษณะของสังคมไทยที่ดี" เอาไว้ให้ได้มากที่สุดของพระองค์

นี่แหละครับคำตอบว่า "อย่าเลย เธอเอาเครื่องจักรมาทำงานแทนคน ได้ผลผลิตเร็วขึ้น ได้กำไรมากขึ้นก็จริง แต่คนจะไม่มีงานทำ" จึงเป็นคำตอบของมหาบุรุษ

นี่แค่ตัวอย่างเดียว ต้องใช้พื้นที่อธิบายขนาดนี้ อันที่จริงผมมีอีกหลายตัวอย่างจากการศึกษามา ว่าจะเขียนรวมเล่มเป็นหนังสือแต่ ว่าช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลา (ข้ออ้าง) เอาเป็นว่าอย่าลืมเตือนผมตอนผมว่าง ๆ ก็แล้วกันนะ

นั่นจึงเป็นคำตอบว่า ทำไมคนหัวเอียงอย่างผมถึงกลับมาทำหัวตรง ถวายความรักความนับถือให้พระองค์จนหลายคนเข้าใจผิดว่าผมเป็น Royalist หัวรุนแรง ไม่หรอกครับ ผมไม่ได้ถวายความรักความนับถือ ให้พระองค์แบบไม่ลืมหูลืมตา แต่มีเหตุผลมากพอที่จะบอกว่า ทำไมผมถึงมีจุดยืนเช่นนี้

เช่นเดียวกัน หากใครมีเหตุผลมากพอที่จะมีจุดยืนที่แตกต่าง ผมก็ไม่เคยรังเกียจ เช่นเดียวกับน้องคนนั้น

สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นปัจจัย ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ "ไม่รักในหลวง" นั่นเป็นเพราะกระแส "ลัทธิซาบซึ้ง" ที่ถูกปลุกขึ้นมาในช่วงปี ๔๖-ปัจจุบัน ที่สอนให้เรารักในหลวงแบบ "ลัทธิ" ไม่ใช่ "ความเข้าใจ" เช่น บอกลูกบอกหลานว่า "รักในหลวงนะลูก" - "ทำไมล่ะแม่" - "เพราะพระองค์ทำเพื่อแผ่นดิน" - "ยังไงล่ะแม่" - "ทรงเสด็จไปพัฒนาท้องที่ทุรกันดาร" - "ไปไหนบ้างล่ะแม่" - "ทั่วประเทศจ๊ะ" - "จริงเหรอแม่" - ...(คิดในใจ นั่นสินะ)

ดูเหมือนว่าภาพของกษัตริย์ที่เด็ก รุ่นใหม่เห็นในปัจจุบัน จะเป็นเรื่องอภินิหารปรัมปรา (Myth) เรื่องราวพระราชกรณียกิจของพระองค์ ก็เป็นเหมือนเรื่องเล่า นานแสนนานจนจับต้องไม่ได้ ทั้งที่ทุกสิ่งที่พระองค์ทำนั้น เป็นเรื่องที่มีบันทึกไว้ท ั้งหมด แต่ดูเหมือนว่าเราสามารถเข้าถึง ข้อมูลนี้ได้น้อยเกินไป หรือเราศึกษาเรื่องราวของพระองค์ ท่านน้อยเกินไป ส่วนหนึ่งผมขอกล่าวโทษสำนักราชเลขาธิการ หรือส่วนอื่นส่วนใดก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องที่ไม่สามารถทำให้ประชาชนเข้าถึง "ความดีงาม" และ "พระปรีชาญาณ" ของพระองค์ได้มากพอ แต่กลับปลุกเร้าในทำนอง "ลัทธิ" ทั้งที่ความดีงามของพระองค์นั้น มีมากมายจนทำให้คน "รักอย่างเข้าใจ" ได้ไม่ยากเลย (ตรงกันข้ามกับอดีตนายกฯ แม้ว ที่ต้องปลุกเร้าให้คนรักแบบ "ลัทธิ" เพราะไม่สามารถให้คนรักแบบ "เข้าใจ" ได้ เพราะเมื่อใดที่คนที่รักแม้วเข้า ใจว่าอะไรเป็นอะไร คนนั้นจะหมดรักแม้วทันที) ถ้าสามารถทำให้ทุกคน "รักอย่างเข้าใจ" ได้ "ลัทธิซาบซึ้ง" ก็ไม่จำเป็นเลยสำหรับการ "รักในหลวง"

การทำให้การ "รักในหลวง" เป็น "ลัทธิซาบซึ้ง" จึงสุ่มเสี่ยงต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนั้นยังมีการพยายามเสนอ ความคิดในลักษณะ "เปิดโปง" ความไม่ดีไม่งามบางประการอย่างผิด ๆ เช่นที่บทความหนึ่งได้กล่าวว่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เพราะบทความนั้นรวมสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์เข้า ไปในบัญชีรายชื่อทรัพย์สินของพระองค์ ด้วย ทั้งที่สำนักงานนี้โดยเนื้อแท้ แล้วเป็นสำนักงานที่อยู่ใน ความควบคุมของรัฐ พระองค์ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามชอบใจ และเงินคงคลังแผ่นดินส่วนมากก็จะอยู่ในนี้ ดังนั้นพระองค์จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ สินนี้แต่ในนาม การจะ "ตีขลุม" เอาว่าพระองค์ "รวย" ก็ดูเหมือนจะไม่ยุติธรรมต่อพระองค์ นัก อย่างไรก็ดี ก็มีหลายคนที่พร้อมจะเชื่อบทความดังกล่าวโดยไม่ลังเลและไม่ไตร่ตรอง เพราะสำคัญว่าเรานี่ช่างวิเศษเหลือเกินที่ "ได้รู้ได้เห็น" ความลับที่ใครอื่นไม่รู้ นี่แค่ตัวอย่างเดียวนะครับ ยังมีตัวอย่างอีกมากที่ได้รับการ เผยแพร่จากนักวิชาการไร้ค วามรับผิดชอบ แต่ไม่มีใครออกมาชี้แจง การไม่ออกมาชี้แจงของฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงทำให้สถาบันถูกมองว่าเป็น "สิ่งที่ตรวจสอบไม่ได้" และ "มีความลับที่ไม่ดีมากมายในนั้น" ทั้งที่ความจริงแล้ว "การตรวจสอบ" และ "การชี้แจง" เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สถานะ ของสถาบันกษัตริย์มีความมั่น คงมากกว่า "ความเชื่อ" และ "ความรักแบบไม่เข้าใจ"

อีกประการหนึ่ง ใครที่เคยเป็นวัยรุ่น ก็น่าจะเข้าใจครับ วัยนั้นมัน "วัยแห่งการต่อต้าน" หรือ "วัยขบถ" เป็นปมอย่างหนึ่งที่ถ้าเรียนจิตวิทยามาจะเข้าใจ คือไม่อยากทำตัวเหมือนคนส่วนใหญ่ ไม่อยากตามกระแส ไม่อยากทำตามคำสั่งใคร เพราะจะ "ไม่มีตัวตน" และจะ "ไม่ได้รับการยอมรับ" ทีนี้ก็เอามาปนกับเรื่องนี้ ถ้าคนส่วนใหญ่รักในหลวง แม่สั่งให้รักในหลวง หนูก็จะไม่รักดื้อ ๆ นี่แหละ มีอะไรมั้ย จะคิดต่างใครจะทำไม เพื่อให้ได้มี "ที่ยืนอันแสนโดดเด่น" ในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเกิดการ "รักในหลวง" ที่ถูกทำให้เป็น "กระแส" (อาทิ วิสต์แบนด์ เสื้อเหลือง-ชมพู ฯลฯ) มากกว่ารักเพราะศรัทธาอย่างแท้จริง (ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรทำ ให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง) กระแสมันมาแบบนี้ ก็จะมีวัยรุ่นหลาย ๆ คนที่ไม่อยาก "ตามกระแส" ก็เลย "ไม่รักในหลวง" ไปซะแบบนั้น ก็เป็นเรื่องของเด็กที่เข้าใจได้ครับ อันนี้ไม่ได้ดูถูกความรู้สึกนึกคิดของวัยรุ่นว่าคิดเองไม่เป็นนะครับ แต่มันมีส่วนหนึ่งที่อธิบายได้ แบบนี้

จึงต้องกลับมาทบทวนครับว่า หลายสิ่งที่เราทำเพื่อให้สถาบันสูงสุดดำรงอยู่นี้ เราทำได้ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด และควรปรับปรุงอะไรบ้าง กรณีน้องณัฐกานต์ถูกปฏิเสธสิทธิพื้นฐานทางการศึกษาเพราะ "ไม่รักในหลวง" นั้นเหมาะสมมากน้อยหรือไม่เพี ยงใด จากนี้ไป สถาบันกษัตริย์จะต้องเผชิญกับอันตรายหลายด้าน และสุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคงที่ จะดำรงอยู่ กฎหมายหมิ่นฯ ก็เป็นเพียงระบบหนึ่งที่จะประกันความมั่นคงได้ส่วนหนึ่ง แต่กฎหมายนั้นไม่สามารถเข้าไปบีบบังคับความคิด-ความเชื่อของคนในรัฐได้ สำหรับในคนรุ่นเก่านี้ ผมเองคิดว่าสถาบันกษัตริย์ยังมี ความมั่นคงมากพอจากหลายปัจจัย แต่ในคนรุ่นต่อไป การท้าทายพระราชอำนาจและความมั่นคงของสถาบันจะมีมากขึ้น ซึ่งก็เป็นโจทย์สำคัญสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า จะทำอย่างไรในอนาคตเพื่อให้ความ มั่นคงของสถาบันนี้ยังคงอยู่

ผมคงจะไม่ขอให้คนรุ่นใหม่คิดแบบ เดียวกับที่ผมคิด เพราะความคิดของคนเราสามารถมีความแตกต่างได้ ผมมีเพียงคำถามที่อยากฝากไว้สำ หรับคนรุ่นใหม่ในวันนี้ที่ "ไม่รักในหลวง" ขอให้ถามตัวเองว่า ๑.ทำไม ๒.เราจะรักหรือไม่รักใครคนหนึ่งโดยที่เราไม่รู้จักเขาจริง ๆ จะยุติธรรมต่อคน ๆ นั้นไหม ไม่ต้องตอบผมครับ ถามตัวเองแล้วตอบตัวเอง ถ้าสามารถตอบตนเองได้โดยได้คำตอบที่ตนเองพอใจ ผมก็จะไม่ไปก้าวก่ายความคิดของ ท่าน

มีเพียงสิ่งเดียวที่ผมอยากจะขอ ก็คือ ขอแค่อย่าคิดจะไม่รักเพราะคิดว่า เท่ เป็นแฟชั่น ขอให้แตกต่างจากคนอื่นเป็นดี โดยไม่ใช้ "สมอง" ไตร่ตรองเลยครับ


วุฒินันท์ ชัยศรี
ศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รุ่น ๓๘

ที่มา : http://www.facebook.com/note.php?note_id=398262729305&id=100000461614520&ref=mf

No comments: