Monday, October 23, 2006


Drink With Me

When I first heard that the government was going to raise the minimum drinking age from 18 to 25 and crack down on alcohol advertising, I began to make a secret bet with myself on how long this government would last. Of all the urgent priorities facing Thailand, this is what PM Surayud chooses to deal with during his honeymoon period? Puh-leez.

But then I began doing some research on the Web. I found out that alcohol was not the trivial problem I had thought it to be. In terms of destroying a country's youth and social fabric, it probably ranks right up there with drugs, except that booze is legal.

The Center of Alcohol Marketing and Youth at Georgetown University lists some eye-opening studies that appear to confirm the link between alcohol advertising and underage drinking.

For a comprehensive picture on the effects of booze, there's nothing quite like a World Health Organization study to put things in perspective. And my conclusion is that alcohol, its popularity boosted by savvy advertising and marketing, is a huge problem for humanity.

If I hadn't already sworn off booze many years ago, these studies would be enough to make me do it.

มอมเหล้าเยาวชน

ตอนแรกที่ได้ยินข่าวว่ารัฐบาลจะปรับอายุคนที่ดื่มเหล้าได้จาก 18 เป็น 25 ปีและควบคุมโฆษณาเหล้า ผมก็คิดกับตัวเองว่าอะไรกันวะ รัฐบาลไม่มีเรื่องอะไรเร่งด่วนกว่านี้แล้วเหรอ เข้ามาช่วงแรกๆ น่าจะจับประเด็นสำคัญๆ ที่เป็นปัญหาระดับชาติ นี่มาจับแต่เรื่องมะโนสาเร่ ถ้ายังงี้แล้วจะอยู่ไปได้สักกี่น้ำเนี่ย

แต่พอค้นคว้าในเน็ตก็พบว่า เออ แฮะ เรื่องโฆษณาเหล้านี่เป็นปัญหาใหญ่จริงๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ปัญหาของประเทศ แต่เป็นปัญหาระดับโลกก็ว่าได้ ถ้าไม่เชื่อก็ลองไปอ่านเว็บต่อไปนี้สิครับ

The Center of Alcohol Marketing and Youth at Georgetown University เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีมากเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโฆษณาและการดื่มเหล้าในหมู่เยาวชน อ่านแล้วเข้าใจเลยว่าทำไมโฆษณาเหล้ามันถึงทำได้สนุกนัก (คือเพื่อดึงดูดคนหนุ่มสาวที่คิดเองไม่ค่อยเป็น)

และแน่นอน ที่ขาดไม่ได้คือรายงานขององค์การอนามัยโลก ที่เรียกว่า Global Status Report on Alcohol 2004 ซึ่งเป็นฉบับที่สอง (ฉบับแรกออกมาเมื่อปีค.ศ. 1999)

อ่านรายงานพวกนี้แล้วก็โยนขวดเหล้านั้นทิ้งเถอะครับ ชีวิตที่คุณช่วยไว้อาจเป็นของคุณเอง

No comments: